ฟองน้ำซับหมึกเต็ม


   สำหรับอาการฟองน้ำซับหมึกเต็มของเครื่องพิมพ์ประเภทอิงค์เจ็ตพรินเตอร์นั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติของผลิตภัณฑ์ตัวนี้เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนรุ่นไหนก็ตามถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตพรินเตอร์แล้วจะต้องเจอกับเหตุการณ์ฟองน้ำซับหมึกเต็มเสมอ ดังนั้นผมจะอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับสาเหตุว่าทำไมเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตพรินเตอร์ถึงจะต้องมีอาการฟองน้ำซับหมึกเต็มเกิดขึ้นด้วย
 
   ถ้าเราสังเกตุตั้งแต่ตอนแรกที่เราเริ่มทำการติดตั้งเครื่องสำหรับเครื่องพิมพ์รุ่น G series นั้นเราจะต้องเริ่มจากการใส่ชุดหัวพิมพ์เข้าไปในตัวเครื่องก่อนจากนั้นจึงจะเริ่มทำการเติมน้ำหมึกลงไปในชุดแทงค์ของแต่ละสีแล้วหลังจากนั้นจึงดำเนินการกดปุ่ม Stop ค้างไว้ประมาณ 5 วินาทีเพื่อให้ตัวเครื่องดึงน้ำหมึกเข้าสู่สายแทงค์ซึ่งในกระบวนการนี้เราจะเรียกว่า System Cleaning นั่นเอง อยากให้ลองจินตนาการตามนะครับว่าในกระบวนการที่ตัวเครื่องดึงน้ำหมึกเข้าสู่สายแทงค์นั้นมันจะต้องผ่านอุปกรณ์อะไรของตัวเครื่องบ้างโดยมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดตรงไหนบ้าง

   จุดเริ่มต้นของการดึงน้ำหมึกเข้าสู่สายแทงค์นั้นจะเริ่มมาจากการทำงานของชุดปั้มหมึกซึ่งจะมีหน้าตาตามรูปภาพด้านล่าง

                   

   ซึ่งชุดปั้มหมึกนี้จะต้องไปประกบกับชุดหัวพิมพ์ โดยการดึงน้ำหมึกเข้าสู่สายแทงค์นั้นจะต้องดึงน้ำหมึกผ่านชุดหัวพิมพ์นั่นเอง ซึ่งน้ำหมึกที่ถูกดึงเข้ามานั้นส่วนนึงจะถูกกักเก็บไว้ในชุดหัวพิมพ์และส่วนน้ำหมึกอีกส่วนนึงละจะถูกส่งต่อไปที่ไหน? คำตอบก็คือ ชุดฟองน้ำซับหมึกนั่นเอง

ภาพสายแทงค์ที่เชื่อมต่อกับชุดหัวพิมพ์
   พอจะนึกภาพออกแล้วใช่มั้ยครับว่าสาเหตุที่เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตพรินเตอร์จะต้องมีชุดฟองน้ำซับหมึกนั้นก็เพราะเอาไว้รองรับน้ำหมึกส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากกระบวนการติดตั้งเครื่องครั้งแรกก็ดี หรือกระบวนการทำความสะอาดหัวพิมพ์นั่นเอง

   วิธีการป้องกันไม่ให้ชุดฟองน้ำซับหมึกเต็มเร็วมีดังต่อไปนี้

  1. ไม่สั่งทำ System Cleaning บ่อยๆ
  2. ไม่สั่งทำความสะอาดหัวพิมพ์โดยไม่จำเป็น
  3. ไม่เปิด-ปิดเครื่องบ่อยๆเพราะในการเปิดปิดเครื่องนั้นจะมีกระบวนการ Auto Cleaning อยู่ด้วย
  4. ไม่ควรถอดชุดหัวพิมพ์ออกเนื่องจากถ้าถอดออกโดยไม่ถูกวิธีนั้นน้ำหมึกจะไหลย้อนกลับลงสู่ชุดแทงค์หมดทำให้เราต้องสั่ง System Cleaning อีกนั้นเอง
   ข้อสำคัญ
    อาการฟองน้ำซับหมึกเต็มนี้เราสามารถทำการสังเกตุที่สถานะไฟบนหน้าตัวเครื่องได้ โดยจะมีสถานะเป็นไฟ Alarm สีส้มสลับกับสีเขียวทั้งหมด 7 ครั้ง ดังนั้นถ้าท่านใดประสบปัญหานี้อยู่ผมแนะนำว่าไม่ควรทำการแก้ไขเองหรือนำเครื่องไปส่งซ่อมร้านค้าทั่วๆไปที่ไม่ใช่ตัวแทนซ่อมของแคนนอน เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดอาการบอร์ดล๊อคได้ ซึ่งในบทความถัดไปผมจะอธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับอาการบอร์ดล๊อคอีกทีครับ

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาการบอร์ดล๊อค

วิธีการใช้งาน G series

อัพเดตเฟิร์มแวร์